สุขภาพและรูปร่าง : บทความการดูแลสุขภาพและรูปร่าง

บทความการดูแลสุขภาพและรูปร่างให้ดียิ่งขึ้น, ป้องกันและลดโรคอ้วน และโรคร้ายต่างๆเพื่อสุขภาพและรูปร่างที่ดี, ประโยชน์และโทษของสารอาหารต่างๆที่ควรทราบเพื่อสุขภาพและรูปร่างที่ดี,

<

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

EPA และ DHAมีประโยชน์ อย่างไรต่อสุขภาพและรูปร่าง

เนื่องจากในร่างกายมนุษ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ศซึ่งส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีของร่างกาย ทำให้ปลดปล่อยพลังงานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆสารเคมีในกลุ่มพรอสตาแกรนดิน(Prostaglandin) ซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีหลายชนิด การที่มีสารพวกนี้หลั่งมากหรือน้อยเกินไป ล้วนส่งผลต่อร่างกาย เช่น อาจทำให้ปวดหัว เป็นไข้ ทั้งนี้เพราะสารเหล่านี้ควบคุมระบบที่สำคัญหลายอย่าง การกินน้ำมันปลาจะทำให้ EPA และ DHA เปลี่ยนเป็นสารพรอสตาแกรนดินที่แตกต่างออกไป และมีผลต่ออวัยวะต่างๆดังนี้
ผลต่อระบบเลือดและหัวใจ
· ยับยั้งฤทธิ์พรอสต่าแกรนดินในการทำให้เลือดแข็งตัว โดยช่วยลดความเสี่ยงในการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้ลดปัญหาการอุดตันของหลอดเลือดได้ ทำให้ลดความเสี้ยงของหัวใจวาย
· อาจช่วยดระดับไตรกรีเซอไรด์(ไขมันในเลือดซึ่งเกี่ยวข้องกับโคเลสเตอรอล) ในเลือดและช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
· มีการวิจัยว่าช่วยทำให้กลไกการเต้นของหัใจเป็นปกติ โดยมีผลต่อการปั้มเข้าออกของสารแคลเซียม โซเดียม และประจุไฟฟ้าอื่นๆให้เป็นไปอย่างปกติซึ่งเป็นตัวควบคุมกล้ามเนื้อหัวใจในการยืดหดตัว
· ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ลดอาการอักเสบในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
สารพรอสตาแกรนดินทำให้เกิดอาการปวด และอักเสบในผู้ป่วยโรค้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยปกติสารพรอสตาแกรนดินถูกสร้าทมาจากกรด Arachidonic การทนสารEPA และ DHA จะระงับการทำงานของกรด Arachidonic ทำให้สามารถลดอาการปวด และอักเสบในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน จึงจำเป็นต้องดั้บการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
ผลต่อความยืดหยุ่นของผนังเซลล์
ปกติเมื่อเราชราภาพ ผนังเซลล์จะแข็งตัวขึ้นและมีความยืดหยุ่นน้อยลง ซึ่งจะมีผลลบต่อการทำงานของเนื้อเยื่อทั่วร่ากาย รวมถึสมองและดวงตาอีกด้วย โอเมก้า 3 จะทำให้ผนังเซลล์มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ในขณะเดียวกันทำให้มีกลไกรับอินซินได้มากขึ้นด้วย
ผลอื่นๆ
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกมากที่พบว่า อาจช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า มีผลต่อความจำ ระบบภูมิต้านทานโรค การทำงานของอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน หรือการศึกษาผลต่อการทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งคงต้องรอผลวิจัยเพิ่มเติมอีกในอนาคต

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก